Monday, March 9, 2015

แกงขนุน (Curry Young Jackfruit)

     แกงขนุน เป็นอาหารพื้นบ้านของทางภาคเหนืออีกชนิดหนึ่ง ที่น่ารับประทานมากๆ ในบางท้องถิ่นของภาคเหนือจะเรียกว่า แกงบ่าหนุน นิยมทำเป็นอาหารในพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ด้วยความเชื่อที่ว่า คู่บ่าวสาวจะได้ใช้ชีวิตเกื้อหนุน ค้ำจุนกัน




ส่วนผสมและเครื่องปรุง (Ingredients)

  • ขนุนอ่อน                              2   ถ้วย  (2 bowls of young jackfruit)
  • มะเขือเทสลูกเล็ก                   7-8  ลูก  (7-8 small tomatoes)
  • ใบชะพลูหั่นหยาบ                  1/2 ถ้วย  (1/2 bowl of Wild Betel Leafbush)
  • ยอดใบชะอม                        1/2 ถ้วย   (1/2 bowl of Acacia pennata)
  • ซี่โครงหมู หรือ เนื้อหมู            1   ถ้วย   (1 bowl of Pork ribs or Pork)

ส่วนผสมเครื่องแกง (Ingredient of Curry)

  • พริกแห้ง                               6  เม็ด         (6 dried hot pepper)
  • กระเทียม                              6  กลีบ        (6 pieces of garlic )
  • หอมแดง                              6  หัว           (6 onion)
  • กะปิ                                     1  ช้อนชา    (1 teaspoon of shrimp paste)
  • เกลือ                                   1  ช้อนชา     (1 teaspoon of salt)

  วิธีทำ (How to cook)

1.  เริ่มจากการทำเครื่องแกงก่อน โดยการโขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
     Pound ingredient of curry together and scoop to a bowl.

2.  ปอกขนุนและหั่นเป็นชิ้นๆพอดีคำ
     Peel young jackfruit and dice it.

3.  นำน้ำใส่หม้อ ตั้งไฟปานกลางจนเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป
     Boil water with medium heat then add all curry to boil.

4.  ใส่ซี่โครงหมูลงไป คนให้เข้ากันจนหมูสุก แล้วใส่ขนุนลงไป ต้มจนขนุนอ่อนนิ้ม
     Add pork ribs or pork stir until it's ripe than add peeled young jackfruit then boil until it's 
     ripe.

5.  ใส่มะเขือเทศ ยอดใบชะพลู และยอดใบชะอม ลงไปคนให้ทั่ว รอจนผักสุก 
     ปรุงรสด้วยเกลือ พร้อมเสริฟ  
     Add small tometoes, wild betel leafbush and acacia pennata then stir until it's ripe and
    seasom with salt and serve.


Monday, February 23, 2015

น้ำพริกอ่อง Nam Prik Aong (Northern Thai Meat and Tomato Spicy Dip)

         เมื่อพูดถึงอาหารพื้นบ้านของชาวเหนือ ก็คงขาดไม่ได้ที่จะต้องมี "น้ำพริกอ่อง" ไว้รับประทานคู่กับแตงกวา ซึ่งนับเป็นของคู่กันเลยที่เดียว ด้วยรสชาติที่ไม่เผ็ดเกินไป เปรี้ยวนิดๆด้วยรสชาติของมะเขือเทศกับหมูสับที่เข้ากันอย่างลงตัว แม้ว่าสีจะดูจัดจ้านเผ็ดร้อนก็ตาม น้ำพริกอ่องเป็นน้ำพริกที่มีสามรสชาติคือ เปรี้ยว เค็มและเผ็ดเล็กน้อย นิยมรับประทานร่วมกับผักสดได้ตามใจชอบ



ส่วนผสมและเครื่องปรุง (Ingredients)
  •  หมูสับ                                 1/2 ถ้วย             (1/2 bowl minced pork)
  •  มะเขือเทศลูกเล็ก                  10 ลูก                (10 small tomatoes)
  •  กะปิ                                   1 ช้อนชา            (1 teaspoon shrimp paste)
  •  น้ำตาล                               1 ช้อนชา            (1 teaspoon sugar)
  •  เกลือ                                 1/2 ช้อนชา         (1 teaspoon salt)
  •  หอมแดง                             5 หัว                 (5 onion)
  •  น้ำมันพืช                             2 ช้อนโต๊ะ         (2 spoon vegetable oil)
  •  พริกขี้หนู                             6 เม็ด               (6 guinea-pepper)
  •  กระเทียม                            10 กลีบ             (10 pieces of garlic)
  •  ผักชี                                  1/2 ถ้วยตวง       (1/2 measuring bowl coriander root)

 วิธีทำ (How to cook)

  1.  โขลกพริกขี้หนู หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ เข้าด้วยกัน

     Pound guinea-pepper, onion, garlic, shrimp paste and salt. It become curry.
  2. ผัดน้ำพริกกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสับลงไปผัดจนสุก เติมน้ำเปล่าเล็กน้อย

    Fry the currey with vegetable oil and minced pork until it's ripe. Add a bit of fresh water.
  3. ใส่มะเขือเทศลงไปผัดจนสุก ตักใส่ถ้วย โรยผักชีตกแต่งพร้อมเสริฟ

    Add small tomatoes and fry together until it's ripe. Scoop up to the bowl and serve with coriander root.
  4.  
     

Monday, September 29, 2014

"น้ำมันทอดซ้ำ" ป้องกันไว้ ห่างไกลจากมะเร็ง !!!

             
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


            จากการแถลงนโยบายของภาครัฐ การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข สุขภาพประชาชน ให้เน้นเรื่องการป้องกันโรคมากกว่าการรอให้ป่วยแล้วมาตามรักษา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะมีโรคจำนวนไม่น้อยที่มีหลายสาเหตุและอีกหลายโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น หลายโรคที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกด้วย เช่น มลพิษในสภาพแวดล้อมรอบตัว การป้องกันโรคเหล่านี้ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก โดยเฉพาะโรคมะเร็งอย่างที่รู้ๆ กัน

          นอกจากนั้นนโยบายด้านสุขภาพของรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุขใหม่ทั้ง 2 ท่านทั้ง 10 ด้านในข้อที่ 3 สร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทยตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัย มีการให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำมันทอดซ้ำซึ่งเป็นต้นตอของหลายปัญหาสุขภาพ ตั้งแต่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสะสมในตับและที่สำคัญคือโรคมะเร็ง

          เหตุเพราะในน้ำมันทอดซ้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ก็ตาม มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากมายหลายชนิด ที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง ตัวหลักๆ ที่เป็นผู้ร้ายหัวหน้าแก๊งคือ สารโพลาร์และสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช ซึ่งเกิดขึ้นหลังการทอดอาหาร ยิ่งใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำบ่อยเท่าไหร่ สารพวกนี้ยิ่งเกิดมากขึ้น

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

             จากการศึกษาพบว่า การใช้น้ำมันทอดซ้ำทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง มะเร็งตับ มะเร็งปอด และก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง ที่น่าสนใจก็คือไม่เพียงแต่อันตรายที่เกิดจากการบริโภคด้วยการกินเท่านั้น การหายใจเอาไอน้ำมันหรือควันจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำก็ทำให้เกิดมะเร็งได้เช่น กัน จากงานวิจัยในประเทศจีนพบว่า ผู้หญิงจีนที่ไม่สูบบุหรี่จำนวนมากป่วยเป็นมะเร็งปอด ซึ่งเมื่อดูจากประวัติแล้ว ส่วนใหญ่สูดควันจากการทำอาหารด้วยน้ำมันเก่าที่มีควันมากผิดปกติ เรียกได้ว่าความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งนั้นเทียบเท่าการสูบบุหรี่หรือดื่ม เหล้าเลย ทีเดียว

             จากการสำรวจประเทศไทยเรามีร้านขายของทอด ประเภททอดกันให้เห็นๆ หน้าร้าน มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 200,000 ร้านทั่วประเทศ นี่ยังไม่นับรวมร้านประเภททอดหลังร้านหรือทอดมาจากที่อื่นอีกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นโอกาสที่ผู้บริโภคตาดำๆ จะได้รับสารก่อมะเร็งจะมากมายขนาดไหน ก็ต้องขอฝากไปยังพ่อค้าแม่ค้าว่า อย่าเอาน้ำมันใช้แล้วมาทำอาหารซ้ำเลยครับ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งคนทอดและคนกินมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกันทั้งนั้น ที่สำคัญก่อนจะซื้อของทอด ก็สังเกตสีน้ำมันในกระทะกันสักหน่อย ถ้ามีสีน้ำตาลคล้ำก็ผ่านไปซื้อร้านอื่นเลยดีกว่าครับ ปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า

ขอขอบคุณบทความจาก สสส.

Tuesday, July 29, 2014

ดื่มนมอย่างเดียวใช่ว่าจะสูง...มาดูวิธีเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก เพื่อร่างกายที่แข็งแรง

             แคลเซียม เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ถ้าพูดถึงอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ ทุกคนคงคิดถึง “นม” แต่ผลการสำรวจพบว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ 84% ตระหนักถึงประโยชน์ของนม แต่มีไม่ถึง 50% ที่ดื่มนมและบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำทุกวัน และโดยมากจะดื่มนมเพียงวันละ 1 แก้ว

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
               แค่ 1 แก้วหลายหลายคนอาจจะมองว่ามากพอแล้ว แต่ความ เป็นจริงแล้ว ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการคือ 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งนมส่วนใหญ่ใน 1 แก้วมักมีแคลเซียมเพียง 200-250 มิลลิกรัม หรือเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้น เราจะมาแนะนำ 5 เคล็ดลับเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกาย

1. เลือกดื่มนมและทานอาหารที่มีแคลเซียม เนื่องจากแคลเซียมในนมเราดูดซึมได้ง่ายที่สุด หรือทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เช่น โยเกิร์ต ชีส หรือนมเปรี้ยว รวมถึงเต้าหู้ก้อน ผักใบเขียว ถั่วงา

2. วิตามินดีและแมกนีเซียม วิตามิน ดีมีอยู่ในนม ปลาแซลมอน เห็ด ไข่แดง น้ำมันพืช และแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้าหรือเย็น ในขณะที่แมกนีเซียมทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์และควบคุมการขนส่ง แคลเซียม

3. การออกกำลังกายที่ใช้การแบกรับน้ำหนักตัว หรือการออกกำลังกายที่มีการต้านแรงดึงดูดของโลก เพื่อ เป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระดูกและยังชะลอการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ รวมถึงการเล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน บาส อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง แต่สำหรับผู้สูงอายุควรออกกำลังกายแบบเบา เช่น การเดิน เต้นแอโรบิก

4. หลีกเลี่ยงผักที่ยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามีอะไรบ้าง ผักชนิดนี้ได้แก่ ผักโขม มันเทศ รำข้าวสาลี พืชมีเมล็ด และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการบริโภคผักที่มี แคลเซียมปานกลางถึงสูง แต่มีออกซาเลตต่ำ อาทิ คะน้า กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ตำลึง บัวบก และถั่วพู เป็นต้น

5. ควรหลีกเลี่ยงเหล้า บุหรี่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะแอลกอฮอล์คือวายร้ายที่คอยขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งสิ่งพวกนี้ยังไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

 ที่มา : kapook.com

Wednesday, June 11, 2014

10 สัญญาณจากร่างกายเตือนว่าคุณกำลังอ่อนแอ...!

            รู้ ได้อย่างไรว่าร่างกายของเรา กำลังขาดสารอาหารชนิดใดอยู่?  10 สัญญาณเตือนต่อไปนี้ จะชี้ให้ทราบว่าร่างกายของเรากำลังขาดสารอาหารชนิดใด

 
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

สัญญาณที่ 1
มองไม่เห็นในที่แสงน้อย ตาแห้ง
สารอาหารที่ขาด: เบต้าแคโรทีน ช่วยในการมองเห็นและช่วยระบบภูมิ คุ้มกัน
แหล่งอาหาร: ผลไม้สีเหลืองและส้ม นม ผักใบเขียว

สัญญาณที่ 2
อ่อนเพลีย เครียด เหน็บชา เบื่ออาหาร
สารอาหารที่ขาด: วิตามินบี ช่วยสร้างโปรตีน สร้างเม็ดเลือดแดง ต้าน อาหารเหน็บชา  บำรุงประสาท
แหล่งอาหาร: ข้ามซ้อมมือ นม ไข่ ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์

สัญญาณที่ 3
เลือดออกตามไรฟัน เป็นหวัดง่าย เหงือกอักเสบ
สารอาหารที่ขาด: วิตามินซี ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างภูมิต้านทาน
แหล่งอาหาร: ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียว

สัญญาณที่ 4
พบภาวะกระดูกพรุน การหดตัวของกล้ามเนื้อและหัวใจผิดปกติ
สารอาหารที่ขาด: แคลเซียม ช่วยรักษากระดูกและฟัน ช่วยการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและหัวใจ
แหล่งอาหาร: เนื้อสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ถั่ว ผักใบเขียว นม ปลาตัวเล็ก
สัญญาณที่ 5
โลหิตจาง แผลหายช้า เส้นเลือดดำขอด
สารอาหารที่ขาด: วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิว ประสาทและกล้ามเนื้อ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
แหล่งอาหาร: เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช เมล็ดพืช น้ำมันพืช

สัญญาณที่ 6
ซีด เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หัวใจเต้นถี่ ติดเชื้อง่าย
สารอาหารที่ขาด: ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของฮีโมโกลบิน ส่วนประกอบของเอ็นไซม์และสารภูมิคุ้มกันในเซลล์
แหล่งอาหาร: ตับ ม้าม เนื้อสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ถั่ว ผักใบเขียว

สัญญาณที่ 7
แผลหายช้า รับรู้กลิ่นรสได้ไม่ดี เป็นโรคผิวหนังบ่อย
สารอาหารที่ขาด: แร่ธาตุสังกะสี ช่วยในการเติบโตของเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกัน การรับกลิ่น
แหล่งอาหาร: เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เนยแข็ง ถั่วเปลือกแข็ง จมูกข้าวสาลี

สัญญาณที่ 8
กล้ามเนื้อเกร็ง กระวนกระวาย สับสน
สารอาหารที่ขาด: แร่ธาตุแมกนีเซียม เสริมการสร้างกระดูกและฟัน สร้างพลังงาน ควบคุมการทำงานของหัวใจและคลายกล้ามเนื้อ
แหล่งอาหาร: ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง ผักใบเขียวเข้ม หอย

สัญญาณที่ 9
 เป็นโรคกระดูกอ่อนและฟันผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องผูก
สารอาหารที่ขาด: วิตามินดี ช่วยดูดซึมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส
แหล่งอาหาร: ตับ นม ไข่แดง เนย

สัญญาณที่ 10
ผิวหนังแตก สะเก็ดรอบจมูก ผมร่วง ผมเปราะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้
สารอาหารที่ขาด: ไบโอติน (วิตามินเอช) ช่วยเผาผลาญอาหาร ผลิตกรดไขมันเพื่อสุขภาพผิวและเส้นผม
แหล่งอาหาร: ถั่วเหลือง ตับ ธัญพืชไม่ขัดสี ดอกกะหล่ำ สัตว์ปีก

          หากท่านมีอาการบางอย่างตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น และรับประทานอาหารให้ตรงกับสารอาหารกลุ่มที่กำลังขาด รวมทั้งพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

ที่มา : Scimath

Tuesday, April 22, 2014

ไวรัส “เมิร์สคอฟ” เชื้อโรค ไม่มียารักษา

            แม้ว่าไวรัสเมิร์สคอฟสายพันธุ์ใหม่จะยังไม่มาถึงประเทศไทย แต่ควรรู้และป้องกันไว้ก่อนเพราะเป็นเชื้อใหม่ล่าสุดที่ยังไม่มียารักษา

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


ทำไมชื่อ เมิร์สคอฟ
มาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง
ต้นกำเนิดของไวรัสเมิร์สคอฟ
ไวรัส ชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามี ต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546
ความร้ายแรงของไวรัส
ผู้ ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

การป้องกันเบื้องต้น
1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
หลัง จากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย
หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย  

      สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : scimath

Saturday, March 29, 2014

โรคแพนิค คืออะไร จะน่ากลัวอย่างที่คิดหรือไม่...?

           ช่วงนี้ดูข่าวเครื่องบินตก จะนำเหตุการณ์ เครื่องบินที่เคยเกิดอุบัติมาเล่าอีกครั้ง ยิ่งอ่านยิ่งซึมซับอาจจะส่งผลกระทบกับ หลายคนๆที่มีความกลัวการเดินทางโดยเครื่องบินอยู่แล้ว วิตกและตื่นตระหนกมาก และถ้าคุณกำลังเป็นจะมีวิธีการรับมืออย่างไร

 
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


โรคแพนิค ไม่ ใช่โรคร้ายแรง เป็นความผิดปกติในกลุ่มของโรควิตกกังวล ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง และอาการนั้นมีความรุนแรงจนรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคแพนิคจะมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง (panic attacks) ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้

          อาการ ตกใจกลัวตื่นตระหนก วิตกกังวลอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่าอาการแพนิค ที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งมักเกิดขึ้นโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ จึงยากที่จะคาดการณ์ และจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ประมาณ 3-10นาที แต่ไม่นานเกิน30 นาที ทำให้ผู้ป่วยกลัวที่จะเกิดอาการซ้ำอีก จึงพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น หือกิจกรมนั้นๆ จึงส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น
คุณเคยมีช่วงเวลาไหนไหมที่ มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกอาการหรือไหม?
1.ใจสั่น หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก รู้สึกมีก้อนจุกที่คอ อ่อนเพลีย
2.ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น เหงื่อแตก ปั่นป่วนในท้อง มีความรู้สึกภายในแปลกๆ
3.รู้สึกชาหรือ ตามปลายเท้า รู้สึกมึนงง จะ เป็นลม คล้ายเหมือนอยู่ในความฝัน
4.รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายเท้า ควบคุมตนเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้า
5.ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึก กลัวว่าจะตาย
ถ้ามีโรคแพนิคจะดูแลตนเองอย่างไร
1.การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย การฝึกสมาธิ
2.การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้ฟังเพลง
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผึกโยคะ ไทเก็ก
4.จัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น อ่านธรรมะ ทำบุญ
5.เวลาเป็นแพนิค อย่าเพิ่งตกใจ อย่าคิดต่อเนื่องไปว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายได้


ขอขอบคุณบทความจาก สสส.